การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน
1. หลักการนำเสนอผลงาน
ในหน่วยการเรียนรู้ก่อนๆ
ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานรูปแบบต่าง ๆ
มาบ้างแล้ว การสร้างผลงานที่ดีนั้นต้องอาศัยความรู้และทักษะตลอดจนความคิดสร้างสรรค์
แต่ที่สำคัญที่สุดคือการสะสมประสบการณ์จากการที่ได้พบเห็นตัวอย่างและเรียนรู้จากตัวอย่าง
2. รูปแบบการนำเสนอผลงาน
ในหัวข้อนี้
จะกล่าวถึงรูปแบบการนำเสนอผลงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ รูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี
2 รูปแบบ คือ
2.1 การนำเสนอแบบ Slide
Presentation
2.1.1 โดยใช้โปรแกรม
Power Point
เป็นโปรแกรมนำเสนอผลผลงานในชุด
Microsoft
Office เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายมากมีแม่แบบ (Template) ให้เลือกใช้หลายแบบ องค์ประกอบหลักของแต่ละหน้าของการนำเสนอคือ หัวข้อ (Little)
กับส่วนเนื้อหาหลัก (Body text) เนื้อหาหลักมักจะถูกนำเสนอในแบบของ
Bull Point คือการใช้เครื่องหมายพิเศษนำหน้าข้อความที่สั้นกระทัดรัด
แต่ได้ใจความมีการจัดลำดับความสำคัญของข้อความโดยการย่อหน้า
2.1.2 โดยใช้โปรแกรม ProShow
Gold
โปรแกรม Proshow Gold คือ โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพเพื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดีย
ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย ใช้งานง่าย
เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ การเรียนการสอน การแนะนำอัตชีวประวัติ
สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว
เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดีจากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว
โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้
เช่น VCD ,DVD หรือ EXE ฯลฯ
ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร
การสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สร้างขึ้นตามจุดประสงของการสอนเพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนได้จากบทเรียนนั้น
ได้มีความรู้และทักษะตลอดจนทัศนคติของผู้สอนได้ตั้งไว้ให้ผู้เรียนสามารถประเมินผลด้วยตนเองว่าบรรลุจุดประสงค์ในแต่ละข้อหรือไม
2. บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน การสร้างบทเรียนจะต้องคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถพื้นฐานอยู่ในระดับใด ไม่ควรที่จะยากหรือง่ายจนเกินไป
3.บทเรียนที่ดีควรปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนให้มากที่สุดการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรมีประสิทธิภาพมากกว่าเรียนจากหนังสือเพราะสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้
2 ทาง
4. บทเรียนที่ดีควรจะมีลักษณะเป็นการสอนรายบุคคล
ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนหัวข้อที่ตนเองมีความสนใจและต้องการที่จะเรียนและสามารถที่จะข้ามบทเรียนที่ตนเองเข้าใจแล้วได้ แต่ถ้าบทเรียนที่ตนเองยังไม่เข้าใจก็สามารถเรียนซ้อมเสริมจากข้อแนะนำของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้
5. บทเรียนที่ดีควรคำนึงถึงความสนใจของผู้เรียน
ควรมีลักษณะเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนอยู่เสมอ
6. บทเรียนที่ดีควรสร้างความรู้สึกในทางบวกของผู้เรียนควรทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน เกิดกำลังใจและควรที่จะหลีกเลี่ยงการลงโทษ
7. ควรจัดทำบทเรียนให้สามารถแสดงผลย้อนกลับไปยังผู้เรียนให้มากๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงย้อนกลับในทางบวก
ซึ่งจะสามารถทำให้ผู้เรียนชอบและไม่เบื่อหน่าย
8.บทเรียนที่ดีควรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนบทเรียนควรปรับเปลี่ยนให้ง่ายต่อกลุ่มผู้เรียน เหมาะกับการจัดตารางเวลาเรียน
สถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์มีความเหมาะสมควรคำนึงถึงการใส่เสียง
ระดับเสียงหรือดนตรีประกอบควรให้เป็นที่ดึงดูดใจผู้เรียนด้วย
9. บทเรียนที่ดีควรมีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนอย่างเหมาะสม ควรหลีกเลี่ยงคำถามที่ง่ายตรงเกินไป หรือไร้ความหมาย การเฉลยคำตอบควรให้แจ่มแจ้งไม่คลุมเครือและไม่ควรเกิดความสับสน
10. บทเรียนควรใช้กับคอมพิวเตอร์ที่จะเป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียนอย่างชาญฉลาดไม่ควรเสนอบทเรียนในรูปอักษรอย่างเดียวหรือเรื่องราวที่พิมพ์เป็นอักษรโดยตลอดควรใช้สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเต็มที่ เช่น
การเสนอด้วยภาพ
ภาพเคลื่อนไหว
ผสมตัวอักษรหรือให้มีเสียงหรือแสงเน้นที่สำคัญ หรือวลีต่างๆ
เพื่อขยายความคิดของผู้เรียนให้กว้างไกลมากขึ้น ผู้ที่สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรตระหนักในสมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ตลอด ข้อจำกัดต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ด้วย
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสียบางสิ่งบางอย่างของสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ไป เช่น
ภาพเคลื่อนไหวปรากฏช้าเกินไป
การแบ่งส่วนย่อยๆ
ของโปรแกรมมีขนาดใหญ่เกินไปทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้
11. บทเรียนที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของการออกแบบการสอนคล้ายๆกับการผลิตสื่อชนิดอื่นๆ
การออกแบบทเรียนที่ดีย่อยจะสามารถเร้าความสนใจของผู้เรียนได้มาก การออกแบบบทเรียนย่อมประกอบด้วยการตั้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน
การจัดลำดับขั้นต้อนของการสอนการสำรวจทักษะที่จำเป็นต่อผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จึงควรจัดลำดับขั้นตอนการสอนให้ดี มีการวัดผลและการประเมินผลย้อนกลับให้ผู้เรียนได้ทราบ มีแบบฝึกหัดพอเพียงและให้มีการประเมินผลของขั้นสุดท้าย เป็นต้น
12. บทเรียนที่ดีควรมีการประเมินผลทุกแง่ทุกมุม เช่น
การประเมินคุณภาพของผู้เรียนประสิทธิภาพของผู้เรียน ความสวยงาม
ความตรงประเด็นและความตรงทัศนคติของผู้เรียน เป็นต้น
ที่มา : http://miw-noomiw08.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น